วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย

ในช่วงสภาวะอันแสนจะกดดัน จากที่เคยใจเย็น อะไรที่เข้าใจง่าย ก็เกิดหงุดหงิด ฉุนเฉียว ไม่รับรู้ อคติ ไม่เข้าใจ บางรายเกิดการยึดติด แค้นเคืองกันไป มีอาการ “กรี๊ดด…ฉันไม่ให้อภัยเธออีกแล้วนะ” แน่ใจหรือ? ว่าการไม่ให้อภัยกันนั้นทำให้มีความสุขจริงหรือ? บางคนตีอกชกหัว ฉันโดนทำร้าย โลกนี้ช่างโหดร้าย แต่คุณเชื่อหรือไม่ ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราเอง ลองอ่าน 8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย ที่อาจทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่เชื่อลองทำดูค่ะ
null
ขอขอบคุณที่มาของบทความดีๆ : หนังสือ กฎแห่งกระจก
ขั้นตอนที่ 1
เขียนรายชื่อ “คนที่ให้อภัยไม่ได้” ลงในกระดาษ
เขียนรายชื่อคนที่คิดว่า “ถ้าให้อภัยได้คงสบายใจขึ้น” และคนที่ “อยากปรับความเข้าใจด้วย” ลงไป
โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญมากลองถามตัวเองดูว่า “เกลียดพ่อแม่หรือไม่” “สำนึกในบุญคุณพ่อแม่หรือเปล่า” ถ้าไม่แน่ใจก็ขอให้เขียนชื่อพ่อแม่ลงไปก่อน
สำหรับคนที่มีแฟนแล้ว ขอให้ทบทวนความสัมพันธ์กับคู่รัก ส่วนคนที่เลิกรา ก็ขอให้นึกดูว่าจะปรับความเข้าใจได้หรือไม่
วิธีนี้ยังใช้ได้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว แม้คนที่ให้อภัยไม่ได้ จากไปแล้ว ก็ขอให้เขียนชื่อเขาลงไปด้วย
เมื่อได้รายชื่อแล้วเลือกคนๆหนึ่งที่คุณคิดว่าเหมาะที่จะลองใช้ “8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย” ดู
ขั้นตอนที่ 2
ระบายความรู้สึกของตัวเอง
เตรียมกระดาษไว้หลายๆแผ่น แล้วเขียนระบายความรู้สึกที่มีต่อคนๆนั้น ทางที่ดีควรเขียนความรู้สึกในใจแทนที่จะเขียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ถ้ารู้สึกโกรธจะเขียนคำว่า “ค้นบ้า” “ทุเรศ!” หรือคำอื่นก็ได้ และถ้ารู้สึกเป็นทุกข์หรือเศร้าเสียใจก็ขอให้เขียนลงไปด้วย เขียนระบายความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา กระดาษเหล่านี้ไม่ได้มีไว้ให้คนๆนั้นดู เพราะฉะนั้นเขียนลงไปให้เต็มที่ ถ้าอยากร้องไห้ก็ร้องออกมา ไม่ต้องกลั้นไว้ การร้องไห้จะทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น เมื่อเขียนอย่างหมดไส้หมดพุงแล้ว ขอให้ฉีกกระดาษเป็นชิ้นๆ แล้วทิ้งถังขยะไป
ขั้นตอนที่ 3
จินตนาการสาเหตุของการกระทำ
1.เขียนการกระทำของคนๆนั้นที่ทำให้คุณ “ให้อภัยไม่ได้” ลงบนกระดาษ
2.ลองจินตนาการสาเหตุที่ทำให้เขาต้องทำเช่นนั้น แรงจูงใจที่ทำให้คนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยแยกออกเป็นสองสาเหตุใหญ่คือ “อยากมีความสุข” หรือ “อยากเลี่ยงความทุกข์” ลองจินตนาการดูว่าเขาอยากได้รับความสุขแบบใด หรืออยากเลี่ยงความทุกข์แบบไหนถึงได้ทำเช่นนั้น
3.เมื่อเขียนเสร็จแล้ว อย่าได้ตัดสินการกระทำนั้นว่า “ไม่ถูกต้อง” แต่ขอให้เข้าใจสิ่งนั้นคือการกระทำที่เกิดจากความด้อยประสบการณ์ ความไม่รู้ หรือความอ่อนแอ
เราทุกคนมักทำผิดพลาดอยู่บ่อยๆ เช่นทำบางอย่างเพื่อให้มีความสุข แต่กลับกลายเป็นความทุกข์
การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงความทุกข์กลับกลายเป็นเพิ่มทุกข์เข้าไปอีก สิ่งนั้นมีสาเหตุจากความด้อยประสบการณ์ ความไม่รู้ และความอ่อนแอนั่นเอง เพราะฉะนั้นขอให้คิดเสียว่าการกระทำของคนที่เราให้อภัยไม่ได้ก็เกิดจากความด้อยประสบการณ์ ความไม่รู้ และความอ่อนแอ เช่นกัน
4.ขอให้พิจารณาการกระทำของคนๆนั้นโดยไม่สนใจว่าถูกหรือผิด แล้วพูดออกมาว่า “คุณคงอยากมีความสุข คุณคงอยากหนีให้พ้นจากความทุกข์เหมือนกันกับฉัน”
ขั้นตอนที่ 4
เขียนสิ่งที่ควรขอบคุณ
เขียนสิ่งที่ควรขอบคุณคนๆนั้นออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ขอให้เขียนลงไป ลองนึกดูให้ดี แม้อาจจะใช้เวลาสักหน่อย เขียนให้มากเข้าไว้
ขั้นตอนที่ 5
ขอพลังจากการพูด
1.ปฏิญาณว่า “ฉันจะให้อภัยคุณเพื่อความเป็นอิสระ ความสบายใจ และความสุขใจของฉันเอง”
2.กล่าวขอบคุณซำๆว่า “คุณ(ชื่อ) ขอบคุณนะครับ/ค่ะ” ถ้าเป็นไปได้ให้พูดออกเสียง จะพูดเบาๆแค่ให้ตัวเองได้ยินก็ได้ ในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องรู้สึกจากใจจริง แม้ในจิจใจจะยังรู้สึกไม่ให้อภัย แต่ก็ขอให้เริ่มพูด (การกระทำภายนอก) ก่อน
ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ 10 นาทีเป็นอย่างน้อย ในเวลา 10 นาทีเราจะพูดได้ประมาณ 400-500 ครั้ง และหากเป็นไปได้ ขอให้พูดต่อเนื่องนาน 30 นาที เพราะขั้นตอนนี้สำคัญมาก
ขั้นตอนที่ 6
เขียนสิ่งที่อยากขอโทษ
เขียนสิ่งที่อยากขอโทษคนๆนั้นให้มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 7
เขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้
เขียนว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการรู้จักคนๆนั้น
คุณอาจได้เรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ๆ จาการคิดเรื่องที่ว่า “ควรปฏิบัติตัวอย่างไรกับเขา”
ควรทำตัวอย่างไรจึงจะทำให้ทั้งคุณและเขามีความสุข
ขั้นตอนที่ 8
ประกาศ “ฉันให้อภัยแล้ว”
ประกาศว่า “ฉันให้อภัยคุณแล้ว”
null
และทั้งหมดนี้คือ “8 ขั้นตอนสู่การให้อภัย”
หากทำครบทั้ง 8 ขั้นตอนแล้ว แต่ยังรู้สึก “ให้อภัยไม่ได้” อยู่ก็ไม่เป็นไร
สิ่งที่ต้องทำต่อคือปฏิบัติตามข้อ2 ในขั้นตอนที่5 ให้เป็นกิจวัตร
นึกถึงใบหน้าของคนๆนั้น แล้วพูดซ้ำไปซ้ำมาว่า “คุณ(ชื่อ) ขอบคุณนะครับ/ค่ะ”
ทำเช่นนี้อย่างน้อยวันละ 5 นาที แล้ววันหนึ่งความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นกับคุณอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น